เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กึปุริสา ได้แก่ กินนร. บทว่า มานุสึ วาจํ น ภาสนฺติ
ความว่า ไม่พูดภาษามนุษย์.
เล่ากันมาว่า ราษฎรนำกินนรตัวหนึ่งมาแสดงแก่พระเจ้าธรรมาโศก.
พระองค์มีรับสั่งว่า พวกท่านจงให้มันพูด. กินนรไม่ปรารถนาจะพูด.
บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรนี้พูด จึงพากินนรลงไปยังปราสาท
ชั้นล่าง ตอกหลัก 2 หลักแล้วยกหม้อข้าวขึ้นตั้ง. หม้อข้าวตกลงข้าง
โน้นบ้างข้างนี้บ้าง. กินนรเห็นดังนั้น ก็กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ตอกหลัก
เพิ่มอีกหลักหนึ่ง จะไม่เหมาะหรือ. เวลาต่อมา เขานำกินนรมาแสดงอีก
2 ตัว พระราชามีรับสั่งว่า. พวกเจ้าจงให้มันพูด กินนรทั้งสองนั้นก็ไม่
ปรารถนาจะพูด. บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรทั้งสองนี้พูด จึงได้
พากินนรเหล่านั้นไปตลาด. ที่ตลาดนั้น กินนรตัวหนึ่งได้เห็นมะม่วงสุก
และปลา กินนรอีกตัวหนึ่งได้เห็นผลมะขวิดและผลไม้มีรสเปรี้ยว. บรรดา
กินนร 2 ตัวนั้น กินนรตัวหนึ่งพูดว่า เพื่อนยาก พวกมนุษย์เคี้ยวกิน
(ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้น ) พวกเขาจะไปเป็นโรคกลากได้อย่างไรเล่า. กินนร
อีกตัวหนึ่งพูดว่า คนเหล่านี้อาศัยปลาและผลไม่นั้น จะไม่เป็นโรคเรื้อน
ได้อย่างไรเล่า. กินนรทั้งหลายแม้ไม่อาจพูดภาษามนุษย์ แต่เมื่อเห็นอำนาจ
ประโยชน์ 2 อย่างดังกล่าวมานี้ ก็พูด แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 9

สูตรที่ 10



ว่าด้วยมาตุคามไม่อิ่มไม่ระอาธรรม 2 ประการ



[306] 60. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อ
ธรรม 2 ประการ ทำกาลกิริยา ธรรม 2 ประการเป็นไฉน คือ การ
เสพเมถุนธรรม 1 การตลอดบุตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม
ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม 2 ประการนี้แล ทำกาลกิริยา.
จบสูตรที่ 10

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺปฏิวาโน ได้แก่ ไม่เธอ ไม่ท้อแท้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10

สูตรที่ 11



ว่าด้วยการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ



[307] 61. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของ
อสัตบุรุษ 1 การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ 1 แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็น
อย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่
เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่า
กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะ